หมวดภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อกับกลุ่มประเทศอาเซียน (English for Asean Contact)(ตอนที่ 1)
Asean charter– กฎบัตรอาเซียน |
Asean community– ประชาคมอาเซียน |
Asean Secretariat– สำนักเลขาธิการอาเซียน |
Association of Southeast Asian Nations (ASEAN หรือ Asean)– สมาคมประชาชาติ แห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน |
Asean dialogue partners– คู่เจรจาอาเซียน |
Forum– การประชุมแสดงความคิดเห็น |
Summit meeting– การประชุมผู้นำระดับสูงสุดของประเทศ เช่นนายกรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี |
Panel discussion– การอภิปรายแบบคณะ โดย กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับความรู้ ความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย |
Dialogue– การเจรจาแบบคู่เจรจา (dialogue partner) เช่น Asean-China dialogue เป็น การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อหารือแลก เปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นเศรษฐกิจ-การเมือง ฯลฯ |
Bilateral negotiation– การเจรจาแบบทวิภาคี คือการเจรจาสองฝ่ายในประเด็นความร่วมมือต่างๆ มักเป็นแบบไม่เป็นทางการ(informal) |
Multilateral negotiation– การเจรจาแบบ พหุภาคี คือการเจรจาร่วมกันหลายฝ่าย มักเป็นการ ประชุมที่จัดอย่างเป็นทางการ (formal) |
Seminar– การสัมมนา เป็นการเรียนการสอน หรือการประชุมเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาจแบ่งกลุ่มผู้เรียนหรือสัมมนาเป็นกลุ่มเล็กเพื่ออภิปรายเรื่องที่สัมมนา |
Workshop–การประชุมเชิงปฏิบัติการ มักเป็นการประชุมกลุ่มเล็กๆ เป็นเวลาหลายวัน เน้นการร่วมกันทำงานเพื่อฝึกแก้ปัญหา |
Conference– การประชุมทางวิชาการหรือวิชาชีพ โดยนักวิชาการหรือวิชาชีพ เพื่อนำเสนอผลงานการค้นคว้าวิจัย โดยการกล่าวปาฐกถา หรือทำ workshop หรือวิธีอื่นๆ |
Assembly– การประชุมสมัชชา ประกอบด้วย กลุ่มคน ชมรม หรือสมาคม ที่มาประชุมกันเฉพาะ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง และฟังบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ |
Host country– ประเทศเจ้าภาพจัดการประชุม |
Co-host– เจ้าภาพร่วมหรือผู้จัดร่วม (อาจเป็นประเทศ กลุ่มบริษัท หรือกลุ่มบุคคล) |
Observer– ผู้สังเกตการณ์ คือผู้ได้รับอนุญาตให้ เข้าร่วมประชุมเพื่อเฝ้าดูหรือศึกษาเหตุการณ์ แต่ไม่ มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง |
Coordinator– ผู้ประสานงาน |
Delegates (= representatives)– ผู้แทนของ หน่วยงาน องค์กร หรือประเทศที่เข้าร่วมประชุม ใช้ คำนี้แบบเป็นทางการ |
Participant (= attendant)– ผู้เข้าร่วมฟัง ประชุม สัมมนา โครงการ หรืออื่นๆ คำนี้ใช้กับผู้เข้าร่วมทั่วๆไป |
Congress– การประชุมเป็นทางการ โดยมีผู้แทน ประเทศหรือภูมิภาคที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมประชุม |
Retreat– การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ (ระดับ รัฐมนตรี) เพื่อพิจารณาประเด็นที่ยังไม่สามารถหาข้อ ตกลงกันได้ รวมทั้งการเตรียมการหรือเสนอแนะประเด็นใหม่ๆที่จะเสนอต่อที่ประชุมผู้นำประเทศ |
Consortium– การประชุมเฉพาะกิจ เป็นการประ ชุมในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง และยังหมายถึงการ รวมตัวขององค์กรเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเป็น การเฉพาะ เช่น consortium ของธนาคาร |
International conference– การประชุมระหว่างประเทศ |
International negotiation– การเจรจาทำข้อ ตกลงระหว่างประเทศ |
Resource person– บุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยว ชาญที่ได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรในการบรรยายหรือ ประชุม |
Guest speaker– ผู้พูดที่เป็นแขกรับเชิญมาบรร ยายในการประชุม สัมมนา หรือการเรียนการสอน จัด อยู่ในประเภท resource person |
Symposium– การประชุมสัมมนา หรืออภิปราย ปัญหาเฉพาะ |
Convention– การประชุมวิชาการหรือวิชาชีพ เน้นไปที่การแก้ปัญหาสำคัญ คล้ายๆกับ symposium |
Agenda– วาระการประชุม |
Meeting invitation letter– จดหมายเชิญประชุม |
VDO conference – การประชุมทางไกล ผู้เข้า ประชุมนั่งอยู่คนละที่ แต่ดูภาพและฟังเสียงคนอื่นพูด จากวีดิโอ |
Conference call–การประชุมกลุ่มทางไกลคล้ายVDO conference แต่อาจได้ยินเฉพาะ เสียงของผู้เข้าประชุม ไม่ได้เห็นหน้า |
Resolution–มติที่ประชุม |
Recommendation–ข้อเสนอแนะ คำแนะนำ |
Reservations– ข้อสงวน (ในการประชุมหรือ พิจารณาในประเด็นต่างๆ) |
Minute (= meeting minute)– บันทึกการ ประชุม |
Minute-taker– ผู้บันทึกรายงานการประชุม |
Opening remarks–คำกล่าวเปิด (การประชุม สัมมนา หรืออื่นๆ) |
Closing remarks– คำกล่าวปิด (การประชุม สัมมนา หรืออื่นๆ) |
Motion– ญัตติหรือข้อเสนอเพื่อการอภิปรายใน ที่ประชุม |
Session (= meeting session)– สมัยประชุม หรือช่วงเวลาในระหว่างประชุม |
Accountability– ความรับผิดชอบ |
Amnesty International – องค์การนิรโทษ กรรมสากล |
Appreciation– การแข็งค่าขึ้นของค่าเงิน |
Depreciation– การลดค่าของค่าเงิน |
Diplomat– นักการทูต |
Diplomacy– การทูต คือการที่รัฐต่างๆยกประ เด็นขึ้นมาเจรจาหารือกันโดยสันติวิธี |
Diplomatic agent– ตัวแทนทางการทูต หมาย ถึงหัวหน้าหรือบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต |
Diplomatic corps– คณะทูตานุทูต หมายถึง คณะของเอกอัคราชทูต กงสุล หรือเจ้าหน้าที่องค์ การระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ทางการทูต รวมทั้ง ภริยา ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง |
Dispute settlement mechanism– กลไก การระงับข้อพิพาท |
Diplomatic privileges and immunities– เอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูต ที่ให้แก่เจ้าหน้า ที่ทางการทูต โดยถือว่าบุคคลดังกล่าวเป็นตัวแทนประมุขของรัฐ จึงห้ามกีดกันขัดขวางด้วยการจับกุม เพื่อให้ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศได้โดยสะดวก |
Economic integration– การรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจของตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป เพื่อเสริม สร้างและรักษาประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น ยกเลิก การเก็บภาษีศุลกากรหรือมาตรการอื่นๆที่เป็นอุป สรรคทางการค้าระหว่างกัน |
Dean of the diplomatic corps– เอกอัครราชทูตที่อาวุโสที่สุดในประเทศใดประเทศ หนึ่ง (ยื่นสาส์นตราตั้งก่อนผู้อื่น) ทำหน้าที่เป็นหัว หน้าหรือผู้แทนของคณะทูตานุทูต
|
Multi-sourcing – การมีแหล่งวัตถุดิบซึ่งสา มารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นชิ้นส่วนต่างๆ อย่างมากมาย |
Customization – การทำให้เป็นสิ่ง (สินค้า) เฉพาะตัว เช่นการนำรถมาแต่งหรือดัดแปลงเพื่อให้มี ลักษณะเฉพาะและดูพิเศษกว่ารถคันอื่น |
Custom-made – ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ตรงกับความต้องการพิเศษ |
Social country – ประเทศที่ประชากรใช้โซเชียลมีเดียสูง เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฯลฯ |
Online share bears – ประชากรในประเทศที่ ชอบแชร์ข้อมูลของตัวเองและส่งข้อความส่วนบุคคล เช่น ฟิลิปปินส์ |
The info and confidentials– ประเทศที่ประ ชากรเน้นการส่งอีเมลส่วนบุคคลและติดตามข่าวสาร ข้อมูล เช่น สิงคโปร์ |
Peace keeping– การรักษาสันติภาพ คือการส่ง เจ้าหน้าที่ในนามของสหประชาชาติเข้าไปในพื้นที่ที่ มีความขัดแย้ง โดยความยินยอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง เพื่อทำหน้าที่ดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลง หยุดยิง หรือความตกลงสันติภาพ |
Peace making (= peace building) –การ สร้างสันติภาพ คือการสร้างและพัฒนาเงื่อนไขเพื่อ ให้เกิดสันติภาพถาวร |
Protocol– พิธีการทูต หรือพิธีสาร คือหลักปฏิบัติ หรือมารยาททางการทูต ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยนา นาประเทศ จนกลายเป็นรูปแบบที่ใช้กันในงานพิธี การ หรือรัฐพิธีต่างๆ ส่วนพิธีสารเป็นความตกลง ระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นพิธีสารต่อท้ายสนธิ สัญญา หรืออนุสัญญา |
Declaration– ปฏิญญา ซึ่งอาจเป็นความตกลงระ หว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน หรือปฎิญญาฝ่าย เดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น หรือ ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งประกาศให้รัฐอื่นทราบความเห็น และเจตนาของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง |
Consul– กงสุล คือข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งให้ ไปประจำยังต่างประเทศ เพื่อทำหน้าที่ดูแลผลประ โยชน์ของประเทศตนในด้านพาณิชย์ การเดินเรือ และคุ้มครองสวัสดิภาพของพลเมืองของประเทศตน ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่กงสุลผู้นั้นไปประจำอยู่ |
High Commissioner– ข้าหลวงใหญ่ คือผู้แทน ทางการทูตของแต่ละประเทศที่เป็นสมาชิกในเครือ จักรภพอังกฤษ |
Debt restructuring– การปรับโครงสร้างหนี้ |
Extradition – การส่งผู้ร้ายข้ามแดน |
Countertrade – การค้าต่างตอบแทน คือการค้า ระหว่างประเทศที่ผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินค้ากับผู้ ซื้อ แทนการชำระเงินทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน |
Head of state– ประมุขของรัฐ ได้แก่พระมหา กษัตริย์หรือประธานาธิบดี |
Tax allowance – การลดหย่อนภาษี |
Taxable income – รายได้พึงประเมิน คือรายได้ หลังจากลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว |
Securitization – การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน |
Grace period– ระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ เงินต้น แต่ยังต้องจ่ายคืนดอกเบี้ย |
Gross revenue– รายได้หลักของรัฐบาล เช่น จากภาษี ค่าใบอนุญาต ค่าธรรมเนียม ค่าเช่า ค่าปรับ และรายได้จากกำไรของรัฐวิสาหกิจ |
Public expenditure – รายจ่ายสาธารณะหรือ รายจ่ายรัฐบาล |
Gross domestic product (GDP) – ผลิต ภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คือมูลค่าของสินค้าและ บริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตภายในประเทศในช่วงเวลา หนึ่งๆ แต่ไม่อาจชี้วัดคุณภาพชีวิตแท้จริงได้ |
Fiscal risk – ความเสี่ยงด้านการคลัง คือการที่ รัฐบาลดำเนินนโยบายการคลังอย่างไม่เหมาะสม |
Fiscal sustainability (= fiscal stability) – ความยั่งยืนหรือความมีเสถียรภาพด้ารการคลัง เช่น การดำเนินนโยบายการคลังอย่างเหมาะสม มีความสา มารถในการจัดเก็บรายได้ ฯลฯ
|
Direct tax– ภาษีทางตรง คือภาษีที่ผู้จ่ายผลักภาระ ให้ผู้อื่นรับแทนไม่ได้ เช่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ฯลฯ |
Indirect tax– ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ผู้จ่ายสา มารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี นำเข้า ภาษีส่งออก ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ |
- Log in to post comments